วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence)
 ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด   ได้เสนอ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligence’s)  มีแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้างแล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน    แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด  เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.. 2526 การ์ดเนอร์  ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ    ด้านภาษา  ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์   ด้านมิติสัมพันธ์   ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว   ด้านดนตรี   ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.. 2540  ได้เพิ่มเติม    เข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา  เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์   ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1)  ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2) ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
 3) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
 4) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
 5) ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
 6) ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
 7)  ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Interpersonal Intelligence)
 8) ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
 ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1)  แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด  เป็นเครื่องมือสำคัญใน  การเรียนรู้
2)  ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3)  ในการประเมินการเรียนรู้  ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน

เอกสารอ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132969
                               http://www.geocities.com/tumbonwadtat/pahupanya.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น