วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

The Ohio state studies

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
                จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ พฤติกรรมมุ่งคน (
consideration) และ พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
                พฤติกรรมมุ่งคน
คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง
 เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
   ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม  ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
·         การรับฟังความเห็นของพนักงาน                   การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน·         บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า                สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน·         ปรึกษาหารือกับพนักงาน                                  ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน·         เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน            เป็นมิตรกับพนักงาน
                พฤติกรรมมุ่งงาน   คือ  พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิก        แต่ละคนให้ชัดเจน   กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน  การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่·         การวางหมายกำหนดการทำงาน                      การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน·         การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน        การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร·         การกดดันพนักงาน                                             การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน·         การแก้ปัญหา การวางแผน                                การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ  คือ 
                                1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ                         3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
                                2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง                        4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1. ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2. กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3. ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย
เรียบเรียงจาก: สมยศ นาวีการ (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ: บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence)
 ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด   ได้เสนอ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligence’s)  มีแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้างแล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน    แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด  เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.. 2526 การ์ดเนอร์  ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ    ด้านภาษา  ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์   ด้านมิติสัมพันธ์   ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว   ด้านดนตรี   ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.. 2540  ได้เพิ่มเติม    เข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา  เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์   ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1)  ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2) ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
 3) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
 4) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
 5) ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
 6) ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
 7)  ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Interpersonal Intelligence)
 8) ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
 ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1)  แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด  เป็นเครื่องมือสำคัญใน  การเรียนรู้
2)  ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3)  ในการประเมินการเรียนรู้  ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน

เอกสารอ้างอิง http://www.oknation.net/blog/print.php?id=132969
                               http://www.geocities.com/tumbonwadtat/pahupanya.htm